สเตลล่า มาลูกี้
สเตลล่า มาลูกี้ | |
---|---|
เกิด | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2520[1] |
คู่สมรส | จานนี แบร์กามิน (สมรส 2549) |
บุตร | 1 |
อาชีพ |
|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2536–2546 |
ผลงานเด่น | รำเพย – ฟ้าทะลายโจร (2543) นันทา – องคุลิมาล (2546) |
ฐานข้อมูล | |
IMDb |
สเตลล่า มาลูกี้ หรือ สเตลล่า มาลูกกี (อิตาลี: Stella Malucchi) เป็นอดีตนักแสดงชาวโคลอมเบีย-อิตาลี มีชื่อเสียงจากบท “รำเพย” ในภาพยนตร์เรื่อง ฟ้าทะลายโจร
ประวัติ
[แก้]สเตลล่า มาลูกี้ เป็นลูกครึ่งโคลอมเบียกับอิตาลี แต่เกิดและเติบโตในประเทศไทย[2] ครอบครัวมีกิจการบริษัทนำเข้าเครื่องหนัง วัตถุดิบสำหรับการทำรองเท้า และกระเป๋า นอกจากภาษาไทย เธอสามารถใช้ภาษาอิตาลี, สเปน และอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว[3][4]
เบื้องต้น สเตลลามีผลงานจากการถ่ายแบบ โฆษณา และมิวสิกวิดีโอเท่านั้น[3] แต่ผลงานของเธอได้ไปสะดุดตาวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ซึ่งกำลังมองหานางเอกสำหรับผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาอยู่ วิศิษฏ์ให้สัมภาษณ์ในภายหลังว่า บทบาทของนางเอกภาพยนตร์ ฟ้าทะลายโจร นั้น ทำให้เขานึกถึงภาพของเอลิซาเบธ เทย์เลอร์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน[5] อีกทั้งยังคล้ายกับรัตนาวดี รัตนาพันธ์ นักแสดงชาวไทยจากภาพยนตร์เรื่อง แพรดำ (2504)[6] หลังจากนั้นเธอได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง องคุลิมาล เธอกล่าวว่าเธอไม่ชอบงานแสดงเพราะเป็นคนขี้อาย และถนัดถ่ายแบบโฆษณามากกว่าจึงเลือกงาน และภายหลังจึงออกจากวงการบันเทิงไป[3]
ต่อมา เธอได้ออกจากวงการบันเทิงและกลับไปทำธุรกิจเปิดร้านขายอุปกรณ์แต่งรถแข่งนำเข้าจากประเทศอิตาลีและงานบริหารงานบริษัทของครอบครัว ซึ่งนำเข้าวัตถุดิบและอุปกรณ์เครื่องหนังจากอิตาลีมาขายต่อให้กับโรงงานในประเทศไทย และได้สมรสกับจานนี แบร์กามิน (Gianni Bergamin) ชาวชิลี-อิตาลีในปี พ.ศ. 2549[4] มีบุตรชายคนหนึ่งชื่ออเล็กซิโอ[1]
ในปี พ.ศ. 2553 สเตลลาต้องตัดขาข้างขวาทิ้ง เนื่องจากป่วยเป็นโรคแคลเซียมในปอดสูงผิดปกติ ซึ่งโรคนี้ทั้งโลกมีผู้ป่วยแค่ 5 คน และเธอเป็นคนที่ 2 ที่หายป่วยจากโรคนี้[7]
กิจกรรม
[แก้]พ.ศ. 2559 สเตลลาและอเล็กซีโอ บุตรชาย ได้ร่วมเดินแบบให้แก่เสื้อผ้ายี่ห้อหนึ่ง รายได้ส่วนหนึ่งจากการจัดงานมอบให้กับมูลนิธิเวชดุสิตฯ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[8]
ผลงาน
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]ปี | ชื่อเรื่อง | รับบท |
---|---|---|
2543 | ฟ้าทะลายโจร | รำเพย |
2546 | องคุลีมาล | นันทาพราหมณี |
มิวสิกวิดีโอ
[แก้]ปี | เพลง | ศิลปิน |
---|---|---|
2536 | "หมดแล้วหมดเลย" | อินคา |
2538 | "ไม่มีอีกแล้ว" | สุนิตา ลีติกุล |
2541 | "คนขี้อิจฉา" | ฟลาย |
รางวัล
[แก้]ปี พ.ศ. | รางวัล | สาขา | ผล | ภาพยนตร์ |
---|---|---|---|---|
2543 | รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ฟ้าทะลายโจร |
2544 | รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ฟ้าทะลายโจร |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สเตลล่า มาลูกี้ นางเอกฟ้าทะลายโจร สูญเสียขาจากโรคประหลาด
- ↑ คริสโตเฟอร์ จงสถิตย์วัฒนา (3 พฤษภาคม 2553). "พลังของคำอธิษฐาน". คริสตจักรแห่งความสุข. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-21. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 "เสียขาไม่เสียใจ สเตลล่า ขอบคุณสวรรค์ที่ให้โอกาสกลับมาเป็นแม่". ไทยรัฐออนไลน์. 12 สิงหาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 เบญจภรณ์ ลิ้มเจริญเงิน (11 กรกฎาคม 2554). "ปาฏิหาริย์รักหล่อเลี้ยงชีวิต 'สเตลล่า มาลูกี้'". HUG Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-14. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Stella Malucchi on Tears of the Black Tiger, บทสัมภาษณ์ Stella Malucchi
- ↑ "ฟ้าทะลายโจรรำลึก : จากทึ่ง! หนังไทย สู่ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้ไปคานส์". หอภาพยนตร์ (องค์กรมหาชน). 7 พฤษภาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สเตลล่า มาลูกี้"ป่วยโรคประหลาดต้องตัดขา [ลิงก์เสีย]
- ↑ ""สเตลล่า มาลูสกี้-น้องนาวา" ร่วมเดินแบบการกุศล". บ้านเมือง. 21 ธันวาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-22. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Photo Gallery เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Photo Gallery 2